MITTAPHAP INTER GUARD CO., LTD.

"บริการด้วยความจริงใจสื่อสารฉับไว และสำนึกในงานรักษาความปลอดภัยเสมอ" Tel. 02-950-2279, Fax.02-950-2278

ขั้นตอนงานเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคุณภาพ

คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

  1. เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย อายุระหว่าง 20-45 ปี มีความสูงไม่ต่ำกว่า 160 ซม.
  2. มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อที่สังคมรังเกียจ และไม่พิการทุพพลภาพ
  3. มีความรู้ชั้น ป.6 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ยกเว้นบุคคลที่เคยเป็นทหาร ตำรวจ อาสาสมัครหรือได้รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับงานด้านรักษาความปลอดภัยอย่างชำนาญ
  4. มีความประพฤติเรียบร้อย และไม่เคยต้องโทษคดีอาญาใด ๆ มาก่อน โดยเฉพาะคดียาเสพติด ลักทรัพย์
  5. ต้องมีเอกสารทางราชการ เช่น บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน วุฒิการศึกษา เป็นต้น
  6. มีความซื่อสัตย์สุจริต
  7. มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
  8. ต้องผ่านหลักสูตรอบรมของบริษัทฯ ก่อน
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะผ่านฝึกอบรม

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทุกนาย ก่อนออกประจำจุดเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามหน่วยงานต่างๆ จะต้องได้รับการปฐมนิเทศ(ฝึกอบรม)จากฝ่ายปฏิบัติการ ดังนี้

  1. ลักษณะของการปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างๆ เช่น บริษัทฯ ห้างร้าน โรงงาน และสถานที่ต่างๆ ที่มี ลักษณะการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างไร แต่ละสถานที่ควรจะปฏิบัติอย่างไร
  2. การควบคุมเขตรับผิดชอบและการตรวจค้น หรือการสังเกตุการณ์ต่าง ๆ รอบ ๆ บริเวณเขตรับผิดชอบ
  3. การควบคุม แก้ไข การแจ้งเหตุ และการระงับเหตุการณ์ต่างๆ ตามความเหมาะสม
  4. การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ถังดับเพลิง อาวุธประจำกาย เป็นต้น
  5. มารยาทในการปฏิบัติหน้าที่ การแสดงความเคารพและปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาโดยเคร่งครัด
การฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

การฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

การยืนฝึกแถวของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

การยืนฝึกแถวของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

เครื่องแบบและอุปกรณ์เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

  1. กางเกง
  2. เสื้อฟาติก
  3. เสื้อยีดคอกลมสีขาว
  4. สายนกหวีดพร้อมนกหวีด
  5. หมวกแก็ป
  6. กุญแจมือพร้อมซอง
  7. ไฟฉายพร้อมซอง
  8. ลิ้วพร้อมซอง
  9. เข็มขัดสนาม
  10. เข็มขัดอ่อน
  11. ถุงเท้า
  12. รองเท้า
  13. ชิดเท้า
  14. เครื่องหมายอาร์ม
  15. เสื้อกันฝน
  16. รองเท้าบู๊ตกันน้ำ
  17. เสื้อสะท้อนแสง

หลักการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเบื้องต้น

  1. บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
  2. การรักษาความปลอดภัย
  3. ความปลอดภัยในการทำงาน และอุปกรณ์ความปลอดภัย
  4. บัตรผ่าน และใบอนุญาต
  5. การควบคุมการเข้า-ออก
  6. การตรวจบุคคล และยานพาหนะ
  7. การตรวจเช็ควัสดุอุปกรณ์ เข้า-ออก
  8. การดับเพลิง และอุปกรณ์ในการดับเพลิง
  9. การอำนวยการจราจร
  10. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  11. การสังเกตุจดจำ
  12. การเขียนรายงาน

การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

การอบรมเบื้องต้น บริษัทฯ จะทำการฝึกอบรมเบื้องต้นก่อนการปฏิบัติงาน 3 วัน ในหัวข้อที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ และการฝึกภาคสนาม

การอบรมในหน่วยงาน เพื่อฟื้นฟูสมรรถนะและเพิ่มพูนทักษะวิชาชีพความรู้ทั้งวิธีปฏิบัติ และจัดการกับอุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้นประจำวัน อบรมเดือนละ 1 ครั้ง

การอบรมพิเศษ จัดเจ้าหน้าที่พิเศษฝึกอบรมเป็นการเฉพาะระหว่างปฏิบัติงาน เช่น การต่อต้านการจลาจล การวางเพลิง การอพยพ หรือจัดสุนัขสงครามทำการดมกลิ่น เป็นต้น

หลักสูตรการฝึกอบรม

ทางบริษัทฯ จัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ตามหลักสูตรดังต่อไปนี้

  1. ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบของบริษัทฯ และระเบียบวินัยทั่วไป
  2. ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาเบื้องต้น และการประชาสัมพันธ์
  3. ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตัวเบื้องต้น และการป้องกันการโจรกรรมต่าง ๆ
  4. ความรู้เกี่ยวกับการรายงานเหตุการณ์ และรักษาสถานที่เกิดเหตุ
  5. ความรู้เกี่ยวกับการบรรเทาสาธารณภัย และการใช้เครื่องมือดับเพลิง
  6. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือสื่อสาร และการใช้สัญญาณบอกเหตุ
  7. ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในด้านการรักษาความปลอดภัย และการแก้ไขปัญหาต่างๆ
  8. ความรู้เกี่ยวกับการสังเกตุจดจำบุคคล และยานพาหนะ

คำสั่งปฏิบัติการ

บริษัทฯ จะจัดพิมพ์กฎระเบียบ คำสั่ง และหน้าที่ในการปฏิบัติการประจำทุกจุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้ถูกต้อง เช่นมีรายชื่อบุคคลและหน่วยงาน หรือแผนผังการปฏิบัติงานในกรณีที่เร่งด่วนหรือฉุกเฉิน

เริ่มงานก่อนการรับมอบ

เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ภายหลังที่ได้รับการว่าจ้างไม่น้อยกว่า 15 วัน บริษัทฯจะจัดกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มาฝึกอบรมก่อนการปฏิบัติงานจริงตามสัญญา 1 วัน โดยไม่คิดค่าบริการ

หน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

หน้าที่โดยทั่วไป เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ปกป้องดูแลชีวิตและทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง ไม่ให้ได้รับความเสียหาย รวมทั้งการป้องกันอัคคีภัย ผู้บุกรุกเข้าไปในเขตหวงห้าม ป้องกันการโจรกรรมและอาชญากรรม การสูญเสียอื่น ๆ ตลอดจนความเสียหายต่าง ๆ ในอันที่จะทำให้ผู้ว่าจ้างต้องสูญเสียผลประโยชน์ไป ทั้งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ว่าจ้างและเจ้าหน้าที่ของผู้ว่าจ้างตามสมควร ตามความเหมาะสม

หน้าที่ความรับผิดชอบโดยทั่วไปและระเบียบข้อบังคับ

  1. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในจุดหรือบริเวณที่กำหนดให้
  2. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะละทิ้งหน้าที่ไปก่อนที่จะมีผู้มาเข้ารับเวรต่อเนื่องไม่ได้ ต้องรอจนกว่าจะมีผู้ที่มารับเวรก่อน จึงจะออกไปจากสถานที่ได้
  3. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะต้องมาถึงจุดที่ทำงานก่อนเวลาทำงาน (อย่างน้อย 15 นาที) เพื่อรับมอบงาน
  4. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ทางบริษัทฯ และผู้ว่าจ้าง กำหนดเท่านั้น
  5. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตื่นตัว รวดเร็ว และพร้อมที่จะเผชิญกับ เหตุการณ์ทุกรูปแบบ
  6. ห้ามบุคคลภายนอกที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงาน เข้ามาในสถานที่ทำงานของผู้ว่าจ้าง
  7. ขณะปฏิบัติหน้าที่จะต้องแต่งเครื่องแบบให้เรียบร้อย ถูกต้องตามระเบียบเสมอ
  8. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะต้องไม่เสพสุราหรือของมึนเมาในขณะปฏิบัติหน้าที่ หรือก่อนเข้ารับหน้าที่
  9. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องปิดประตูทางเข้า-ออก และล็อคให้เรียบร้อยทุกครั้ง
  10. ห้ามมิให้ละเลยการตรวจค้นสำหรับจุดที่มีการตรวจค้น
  11. ห้ามละเลยหรือหลีกเลี่ยงงานที่รับผิดชอบ
  12. ห้ามจับกลุ่มคุยกันในเวลาทำงาน
  13. ห้ามขัดคำสั่งอันชอบของผู้บังคับบัญชา
  14. ห้ามเล่นการพนันในสถานที่ทำงานทั้งในขณะปฏิบัติหน้าที่หรือนอกเวลาปฏิบัติหน้าที่
  15. ห้ามละทิ้งหน้าที่ในขณะปฏิบัติหน้าที่ โดยไม่มีเหตุอันควร
  16. ห้ามอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ ในขณะปฏิบัติหน้าที่

การเฝ้าดูแลสถานที่

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา ห้ามมิให้บุคคลภายนอกซึ่งมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องไปในบริเวณสถานที่ผู้ว่าจ้าง หรือผ่านเข้าไปในเขตหวงห้าม เว้นเสียแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้างเสียก่อน

หากสงสัยไม่สามารถตัดสินใจได้ให้สอบถามจากทางผู้ว่าจ้างเสียก่อน หรืออาจสอบถามจากหัวหน้างานก่อนก็ได้

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

  1. ถามชื่อ ที่อยู่ ธุระ ต้องการพบใครใช้เวลานานเท่าใด
  2. ขอดูบัตรประชาชน,ใบขันขี่,บัตรข้าราชการหรือบัตรอื่น ๆ ที่สามารถใช้เป็นหลักฐาน ในการแสดงตนได้
  3. หากมีการกำหนดให้บันทึกหลักฐานในสมุดบันทึกผ่าน เข้า-ออก ก็ให้จดบันทึกหรือลงหลักฐานไว้ให้เรียบร้อยและแลกบัตร VISITOR ให้กับผู้มาติดต่อ
  4. ถ้าหากสงสัยอาจให้มีการเซ็นชื่อในสมุดบันทึกการผ่าน เข้า-ออก พร้อมตรวจสอบลายเซ็นกับหลักฐานแสดงตัวที่นำแสดงให้ถูกต้องตรงกันก่อน
  5. หลังจากที่ตรวจสอบเสร็จแล้วจะต้องแจ้งให้ผู้ที่ถูกระบุว่าต้องการเข้าพบทราบเสียก่อน หากอนุญาตให้เข้าพบได้จึงจะอนุญาตให้เข้าไปได้
  6. เมื่อผู้มาติดต่อเสร็จธุระแล้วกลับออกไปก็จะคืนบัตร VISITOR ให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

การรายงานเหตุการณ์

  1. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะต้องรายงานเหตุการณ์ทุกครั้งที่มีเหตุการณ์สำคัญ
  2. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะต้องเขียนรายงานเหตุการณ์ (ตามแบบฟอร์มรายงานเหตุการณ์) ไว้เป็นหลักฐานทุกครั้งที่มีเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่ควรจะต้องรายงานหรือ ตามระเบียบคำสั่งที่กำหนดไว้ ในสถานที่นั้น ๆ
  3. แบบรายงานเหตุการณ์จะต้องมีสำเนาแนบทุกครั้ง ใบหนึ่งส่งให้กับผู้ว่าจ้าง อีกใบหนึ่งให้กับสายตรวจหรือบริษัทแล้วแต่กรณี
  4. การรายงานเหตุการณ์ หากเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งและมีผลกระทบถึงบริษัทฯ จะต้อง แจ้งให้ผู้ว่าจ้าง หรือบริษัทฯ ทราบโดยเร็ว เช่น โทรศัพท์, ฯลฯ

การปฏิบัติเกี่ยวกับมีผู้บุกรุก

  • ถ้าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทราบ หรือสงสัยว่ามีผู้บุกรุกเข้ามาในสถานที่ของผู้ว่าจ้าง จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบโดยเร็ว และอย่าให้ผู้บุกรุกรู้ตัว จะต้องเฝ้าดูไม่ให้ผู้บุกรุกคลาดสายตาและควรบันทึกรูปร่างลักษณะต่าง ๆ ของผู้บุกรุกไว้ด้วย เช่น เพศ ความสูง อายุ สีผิว ทรงผม ลักษณะใบหน้า หู ตา จมูก ปาก การแต่งกาย ท่าทางการเดิน สำเนียงการพูด
  • ถ้าผู้บุกรุกมียานพาหนะเข้ามาให้บันทึกชนิดของยานพาหนะ ทะเบียน ยี่ห้อ สีหรือตำหนิอื่นๆไว้
  • แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ให้เข้ามาระงับเหตุ ดำเนินการตามกฎหมาย

การดำเนินการของบริษัท

บริษัทฯ มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ อยู่ปฏิบัติงานโดยต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อคอยรับข้อมูลและปัญหาต่างๆ จากหน่วยงาน กับได้จัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไว้ประจำบริษัทฯ เพื่อทดแทนกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ขาด หรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉินอื่นใดตามหน่วยงานต่างๆ

การตรวจการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

ทางบริษัทฯ มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการได้แก่ สายตรวจ สายตรวจพิเศษ (ทหาร–ตำรวจ) และฝ่ายบริการเข้าร่วมตรวจการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ตามหน่วยงานต่างๆ เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงาน และพัฒนาปรับปรุงแก้ไขระบบปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น โดยจะคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของผู้ว่าจ้างเป็นสำคัญ

การปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุวางระเบิดและพบวัตถุต้องสงสัย

กรณีตรวจค้นหรือพบวัตถุต้องสงสัย (ไม่แน่ใจว่าเป็นระเบิดหรือไม่ )

  1. ทำการถามหาเจ้าของวัตถุต้องสงสัย รายงานให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบ
  2. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องทำการบันทึกประจำวัน (วัน/เวลา/สถานที่ ) ไว้เป็นหลักฐาน
  3. ห้ามไม่ให้ผู้ใด เข้าไปในพื้นที่และจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเฝ้าสถานที่เกิดเหตุ
  4. ถ้าขู่วางระเบิด เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบโดยทันที
  5. แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มาตรวจสอบโดยเร็ว

การปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้

  1. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องทำการดับเพลิงในทันทีที่พบเห็นเพลิงไหม้
  2. ถ้าไม่สามารถดับเพลิงได้ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องแจ้งหัวหน้าหน่วยตามลำดับชั้นและแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยด่วน หรือ กดสัญญาณเตือนภัย (ถ้ามี)
  3. จัดการจราจรกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องให้ออกไป เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับรถดับเพลิง หรือเจ้าหน้าที่ดับเพลิงในการปฏิบัติหน้าที่
  4. ปิดประตูหน้าต่างทุกบาน เพื่อไม่ให้ไฟลุกลามมากยิ่งขึ้น
  5. บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการเกิดเหตุ ไว้เป็นหลักฐาน

Comments are closed.